Contact Us

1015/29 Sukhumvit 71 Road., Khlong Tan Nuea, Wattana, , Bangkok, Thailand, Bangkok

เบอร์ติดต่อ (+66) 92 5799 789 contact@korkaiidea.com
Follow us
ทำไม ซื้อ คอนโด เสีย ภาษี ที่ดิน

ทำไมซื้อคอนโด แต่ต้องเสียภาษีที่ดิน

ทำไม ซื้อ คอนโด เสีย ภาษี ที่ดิน

ทำไมซื้อคอนโด แต่ต้องเสียภาษีที่ดิน❓❓

โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่จะได้ยินแต่ว่าภาษีบ้าน ภาษีที่ดิน แต่ยังมีคนส่วนน้อยที่รู้เรื่องเกี่ยวกับภาษีคอนโด แล้วมันคืออันเดียวกันไหม สรุปใครที่ต้องเป็นคนเสียภาษี เสียเท่าไหร่ แล้วใบภาษีคอนโดที่เราได้มานั้นเป็นของมิจฉาชีพ หรือของทางกรมที่ดินจริง ๆ ดังนั้นวันนี้ทาง “ทีมงาน กอไก่ไอเดีย” เลยได้รวบรวมคำตอบเหล่านี้ไว้ให้แล้ว รวมถึงข้อควรรู้อื่น ๆ อีกด้วย‼️

✨ ภาษีที่ดิน และคอนโดคืออะไร❔
ที่จริงแล้วภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่จัดเก็บเป็นรายปีตามราคาประเมินของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง มีจุดประสงค์เพื่อนำภาษีที่เราชำระนั้นไปพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงลดการเก็งกำไรที่ดินด้วย เพิ่งได้มีการเก็บภาษีนี้มาไม่นาน เริ่มบังคับใช้ในปี 2562 และเริ่มเก็บภาษีในปี 2563 แต่ในช่วงปี 2563-2564 มีการปรับลดการจัดเก็บลง 90% เพื่อช่วยบรรเทาภาระให้กับผู้ที่เสียภาษี เนื่องมาจากในช่วงนั้นเป็น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ส่วนช่วงปี 2565-2566 ที่ผ่านมาได้กลับมาเก็บภาษีจริง ๆ ตามอัตราเดิม โดยมีการยกเลิกปรับลดไป แต่ก็ยังมีการลดภาษีอยู่บ้างในบางกรณี

✨ ใครต้องเสียภาษีคอนโดบ้าง❔
คนที่ต้องเสียภาษี คือ ตัวบุคคล หรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน, สิ่งปลูกสร้าง, ห้องชุด รวมไปถึงคอนโด ไม่ว่าคุณจะซื้อเพื่ออยู่อาศัย หรือปล่อยเช่าก็ตาม คุณก็ต้องเป็นคนเสียภาษีในส่วนนี้นั้นเอง แต่ก็อาจมีบางกรณีที่สามารถยกเว้นภาษีได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายที่รัฐบาลกำหนดในแต่ละช่วงเวลา นั้น ๆ ด้วย

✨ ส่วนผู้เช่าคอนโดเพื่ออยู่อาศัยนั้นไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ เพราะคนที่ต้องเสียภาษี คือตัวเจ้าของคอนโดที่ปล่อยให้เช่า แต่ก็อาจจะมีผลกระทบต่อค่าเช่าที่ทำให้ต้องจ่ายค่าเช่าที่แพงขึ้นนิดหน่อย

✨ ต่อมาเป็นขั้นตอนของการคำนวนภาษีคอนโด ซึ่งภาษีคอนโดของแต่ละคนนั้นจะเสียไม่เท่ากัน หลัก ๆ แล้วจะมีทั้งหมด 3 ขั้นตอนในการคำนวฯแบบง่าย ๆ
1️⃣. ตรวจสอบราคาประเมิน
ภาษีคอนโดที่ต้องเสียนั้นจะคิดมาจากราคาประเมินที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง สามารถตรวจสอบได้ผ่านทางเว็บไซต์ประเมินราคาของกรมที่ดิน แต่ต้องบอกก่อนว่าราคาประเมินมักจะไม่ใช่ราคาซื้อขายจริง และจะไม่เท่ากับราคาที่ซื้อขายจริงเสมอไป

2️⃣. ตรวจสอบประเภท
ผู้ที่ครอบครองกรรมสิทธิ์คอนโดควรที่จะตรวจสอบประเภทของคอนโดด้วย เนื่องจากมีประเภทการใช้งานที่ต่างกันไป จะทำให้เสียภาษีคอนโดต่างกัน ซึ่งเราจะสามารถแบ่งประเภทคอนโดได้เป็น แบบเพื่ออยู่อาศัย หรือแบบเชิงพาณิชย์

➡ แบบเพื่ออยู่อาศัย คือ คอนโดที่ใช้อยู่อาศัยส่วนตัว ไม่ได้ใช้เพื่อการค้าขาย หรือเอาไว้ลงทุนในเชิงธุรกิจ
➡ แบบเชิงพาณิชย์ (ไว้ปล่อยเช่า, ซื้อมาขายไป) ผู้ที่ครอบครองกรรมสิทธิ์คอนโด เอาไว้ปล่อยเช่า หรือซื้อมาเพื่อขายเก็งกำไร จะเสียอัตราภาษีที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ปัจจุบันกรมที่ดินได้มีนโยบายใหม่ ให้นับคอนโดมิเนียมที่ปล่อยเช่ารายปี และรายเดือน เป็นคอนโดมิเนียมประเภทที่อยู่อาศัย และเก็บภาษีในอัตราแบบเพื่ออยู่อาศัย ทั้งนี้ควรติดตามการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายในอนาคตด้วย

3️⃣. กดเครื่องคิดเลข
เมื่อเรารู้ราคาประเมิน และอัตราภาษีที่เราต้องจ่ายแล้ว ให้เราใช้สูตร
“ภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี = (มูลค่าราคาประเมิน – มูลค่ายกเว้น ถ้ามี) x อัตราภาษี”
————————————
ช่องทางที่จะสามารถจ่ายภาษีที่ดิน และคอนโด ได้แก่
1. ผ่านทางสำนักงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
➡ กรุงเทพฯ จ่ายที่ สำนักงานเขตที่ดิน
➡ ต่างจังหวัด จ่ายที่ สำนักงานเทศบาล
➡ พัทยา จ่ายที่ ศาลาว่าการเมืองพัทยา

2. จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน
➡ สามารถจ่ายผ่านแอปพลิเคชัน Mobile Banking ของธนาคารที่ต้องการได้ โดยสแกนผ่านตัว “QR Code” ที่แนบมากับหนังสือแจ้งประเมินภาษีได้เลย
————————————
ถ้าหากผู้ที่ถือครองกรรมสิทธิ์คอนโดอยู่ แล้วไม่ไปจ่ายภาษี สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ
❌ ไม่ได้จ่ายตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่จ่ายก่อนที่จะได้หนังสือแจ้งเตือน มีการปรับเพิ่ม 10% ของจำนวนที่กรมที่ดินแจ้งไว้
❌ จ่ายหลังจากมีการส่งหนังสือแจ้งเตือน ในระยะเวลาตามที่หนังสือแจ้งเตือนกำหนด มีการปรับเพิ่ม 20% ของจำนวนที่กรมที่ดินแจ้งไว้
❌ จ่ายหลังจากระยะเวลาที่หนังสือแจ้งเตือนกำหนด มีการปรับเพิ่ม 40% ของจำนวนที่กรมที่ดินแจ้งไว้
❌เสียภาษีเพิ่ม 1% ต่อเดือนจากภาษีที่ค้างชำระ
❌ และถ้ายังค้างชำระอยู่ มีสิทธ์ที่จะถูกระงับในการจดทะเบียน, โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน รวมถึงอาจถูกระงับสิทธิครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ ด้วย

สนใจรับโปรโมชั่นพิเศษ กับ กอไก่ไอเดีย คลิ๊ก

กอไก่ไอเดีย ที่ปรึกษา การลงทุน คอนโดปล่อยเช่า

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *