Contact Us

1015/29 Sukhumvit 71 Road., Khlong Tan Nuea, Wattana, , Bangkok, Thailand, Bangkok

เบอร์ติดต่อ (+66) 92 5799 789 contact@korkaiidea.com
Follow us
ลงทุน อสังหา ปี2567

มาวิเคราะห์ ตลาดอสังหาฯ ปี 67 กันว่าเป็นยังไง?

อสังหาฯ ปี 67 ฟื้นแน่นอน! เกาะจีดีพีโต 4% รีบซื้อก่อนราคาขยับขั้นต่ำ5 % ทั้งนี้ แนวโน้มตลาดอสังหาฯ ปี 2567 ต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้น รวมทั้งวัสดุ ค่าแรงงาน จากปัจจัยภายนอก สงคราม “อิสราเอล-ฮามาส” ส่งผลต่อต้นทุนน้ำมันและราคาบ้านในอนาคต หากยืดเยื้อ ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ปีหน้าราคาบ้านและคอนโดปรับเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5% ดังนั้นผู้บริโภคที่ต้องการที่อยู่อาศัยและมีกำลังซื้อ ควรรีบตัดสินซื้อช่วงปลายปีนี้ เพราะสินค้าส่วนใหญ่เป็นสต็อกเก่าราคาเดิม ตอบโจทย์ทั้งกลุ่มเรียลดีมานด์และนักลงทุน

หนี้เสียหรือหนี้ครัวเรือน ที่เกิดขึ้นในปี 66 มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง? แล้วส่งผลกระทบยังไงในระยะยาว?

– สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในปี 66 ส่งผลให้คนไทยต้องเผชิญกับภาวะหนี้เยอะ เงินน้อย ต้องใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวังมากกว่าปกติ ซึ่งผลที่ตามมาจากการประหยัด หรือระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้การหมุนเวียนของเงินในระบบลดลง และกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ และผ่อนรถยนต์ ซื้อ และผ่อนบ้านหรือคอนโดมิเนียม โดยในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์นั้น พบว่าหนี้ในการผ่อนรถยนต์กว่า 2.6 ล้านล้านบาท ซึ่งขณะนี้อัตราการผ่อนค่างวดหนี้หนี้รถยนต์นั้น มีการจ่ายช้ากว่ากำหนดมากขึ้น

– อัตราที่อยู่อาศัยว่างในประเทศไทย ซึ่งมีบ้านและคอนโดน ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์และบ้านแฝด ที่ยังขายไม่ได้ ไม่มีคนซื้อ ไม่มีผู้เช่า มีจำนวนมากถึง 1.3 ล้านหลัง สะท้อนให้เห็นว่าซัปพลายสะสมในตลาดยังมีอยู่สูงซึ่งจะกระทบต่อราคาซื้อ-ขายที่อยู่อาศัยในตลาดรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ตลาดซื้อขายที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุนในปี 66 นี้ ไม่สดใสอย่างที่หลายคนคาดหวัง โดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดฯ ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มคนเจนวาย และเจนเอ็กซ์ เป็นหลักซึ่งเป็นกลุ่มที่มีปัญหาเครดิตบูโร จากปัญหาการผ่อนรถทำให้ในปีนี้ตลาดซื้อห้องชุดเพื่อการลงทุนยังคงมีแนวโน้มหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

– ผลกระทบจาก หนี้ครัวเรือน ซึ่งทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภค ประกอบกับแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ย และการเข้มงวดการ อนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัย เริ่มสะท้อนผ่านยอดขายและการเปิดตัวโครงการใหม่ของบริษัทอสังหาฯ ในตลาดรวมที่ชะลอตัวลงอย่างมากนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 66 โดย ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ระบุว่า ปัจจัยลบรอบด้านที่เกิดขึ้น ไม่จะเป็นการยกเลิกการผ่อนคลายมาตรการ LTV ที่กระทบต่อคนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นบ้านสัญญาที่ 2 และ 3 ภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงมีอัตราส่วนที่ยังสูง ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น และความสามารถในการผ่อนชำระลดลง นั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อยอดขาย ยอดโอนกรรมสิทธิ์และยอดการปล่อยสินเชื่อของปี 66 แน่นอน

– โดยสังเกตได้จากสถานการณ์ของดีมานด์ และซัปพลาย ที่อยู่อาศัย ในไตรมาส 1/ 2566 ซึ่งพบว่า ซัปพลายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในตลาดรวม มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการออกใบอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศเพียง 15,267 หน่วย ลดลง -13.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 65 ซึ่งบ้านทาวน์เฮาส์ และบ้านเดี่ยวลดลง มีเพียงบ้านแฝดที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นการปรับตัวของผู้ประกอบการที่เสนอขายบ้านแฝดในตลาดมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกำลังซื้อที่เพิ่มไม่ทันกับการเพิ่มของต้นทุนในการพัฒนาที่อยู่อาศัย