ทำไมซื้อคอนโด แต่ต้องเสียภาษีที่ดิน
ทำไมซื้อคอนโด แต่ต้องเสียภาษีที่ดิน
โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่จะได้ยินแต่ว่าภาษีบ้าน ภาษีที่ดิน แต่ยังมีคนส่วนน้อยที่รู้เรื่องเกี่ยวกับภาษีคอนโด แล้วมันคืออันเดียวกันไหม สรุปใครที่ต้องเป็นคนเสียภาษี เสียเท่าไหร่ แล้วใบภาษีคอนโดที่เราได้มานั้นเป็นของมิจฉาชีพ หรือของทางกรมที่ดินจริง ๆ ดังนั้นวันนี้ทาง “ทีมงาน กอไก่ไอเดีย” เลยได้รวบรวมคำตอบเหล่านี้ไว้ให้แล้ว รวมถึงข้อควรรู้อื่น ๆ อีกด้วย
ภาษีที่ดิน และคอนโดคืออะไร
ที่จริงแล้วภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่จัดเก็บเป็นรายปีตามราคาประเมินของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง มีจุดประสงค์เพื่อนำภาษีที่เราชำระนั้นไปพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงลดการเก็งกำไรที่ดินด้วย เพิ่งได้มีการเก็บภาษีนี้มาไม่นาน เริ่มบังคับใช้ในปี 2562 และเริ่มเก็บภาษีในปี 2563 แต่ในช่วงปี 2563-2564 มีการปรับลดการจัดเก็บลง 90% เพื่อช่วยบรรเทาภาระให้กับผู้ที่เสียภาษี เนื่องมาจากในช่วงนั้นเป็น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ส่วนช่วงปี 2565-2566 ที่ผ่านมาได้กลับมาเก็บภาษีจริง ๆ ตามอัตราเดิม โดยมีการยกเลิกปรับลดไป แต่ก็ยังมีการลดภาษีอยู่บ้างในบางกรณี
ใครต้องเสียภาษีคอนโดบ้าง
คนที่ต้องเสียภาษี คือ ตัวบุคคล หรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน, สิ่งปลูกสร้าง, ห้องชุด รวมไปถึงคอนโด ไม่ว่าคุณจะซื้อเพื่ออยู่อาศัย หรือปล่อยเช่าก็ตาม คุณก็ต้องเป็นคนเสียภาษีในส่วนนี้นั้นเอง แต่ก็อาจมีบางกรณีที่สามารถยกเว้นภาษีได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายที่รัฐบาลกำหนดในแต่ละช่วงเวลา นั้น ๆ ด้วย
ส่วนผู้เช่าคอนโดเพื่ออยู่อาศัยนั้นไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ เพราะคนที่ต้องเสียภาษี คือตัวเจ้าของคอนโดที่ปล่อยให้เช่า แต่ก็อาจจะมีผลกระทบต่อค่าเช่าที่ทำให้ต้องจ่ายค่าเช่าที่แพงขึ้นนิดหน่อย
ต่อมาเป็นขั้นตอนของการคำนวนภาษีคอนโด ซึ่งภาษีคอนโดของแต่ละคนนั้นจะเสียไม่เท่ากัน หลัก ๆ แล้วจะมีทั้งหมด 3 ขั้นตอนในการคำนวฯแบบง่าย ๆ
. ตรวจสอบราคาประเมิน
ภาษีคอนโดที่ต้องเสียนั้นจะคิดมาจากราคาประเมินที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง สามารถตรวจสอบได้ผ่านทางเว็บไซต์ประเมินราคาของกรมที่ดิน แต่ต้องบอกก่อนว่าราคาประเมินมักจะไม่ใช่ราคาซื้อขายจริง และจะไม่เท่ากับราคาที่ซื้อขายจริงเสมอไป
. ตรวจสอบประเภท
ผู้ที่ครอบครองกรรมสิทธิ์คอนโดควรที่จะตรวจสอบประเภทของคอนโดด้วย เนื่องจากมีประเภทการใช้งานที่ต่างกันไป จะทำให้เสียภาษีคอนโดต่างกัน ซึ่งเราจะสามารถแบ่งประเภทคอนโดได้เป็น แบบเพื่ออยู่อาศัย หรือแบบเชิงพาณิชย์
แบบเพื่ออยู่อาศัย คือ คอนโดที่ใช้อยู่อาศัยส่วนตัว ไม่ได้ใช้เพื่อการค้าขาย หรือเอาไว้ลงทุนในเชิงธุรกิจ
แบบเชิงพาณิชย์ (ไว้ปล่อยเช่า, ซื้อมาขายไป) ผู้ที่ครอบครองกรรมสิทธิ์คอนโด เอาไว้ปล่อยเช่า หรือซื้อมาเพื่อขายเก็งกำไร จะเสียอัตราภาษีที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ปัจจุบันกรมที่ดินได้มีนโยบายใหม่ ให้นับคอนโดมิเนียมที่ปล่อยเช่ารายปี และรายเดือน เป็นคอนโดมิเนียมประเภทที่อยู่อาศัย และเก็บภาษีในอัตราแบบเพื่ออยู่อาศัย ทั้งนี้ควรติดตามการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายในอนาคตด้วย
. กดเครื่องคิดเลข
เมื่อเรารู้ราคาประเมิน และอัตราภาษีที่เราต้องจ่ายแล้ว ให้เราใช้สูตร
“ภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี = (มูลค่าราคาประเมิน – มูลค่ายกเว้น ถ้ามี) x อัตราภาษี”
————————————
ช่องทางที่จะสามารถจ่ายภาษีที่ดิน และคอนโด ได้แก่
1. ผ่านทางสำนักงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรุงเทพฯ จ่ายที่ สำนักงานเขตที่ดิน
ต่างจังหวัด จ่ายที่ สำนักงานเทศบาล
พัทยา จ่ายที่ ศาลาว่าการเมืองพัทยา
2. จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน
สามารถจ่ายผ่านแอปพลิเคชัน Mobile Banking ของธนาคารที่ต้องการได้ โดยสแกนผ่านตัว “QR Code” ที่แนบมากับหนังสือแจ้งประเมินภาษีได้เลย
————————————
ถ้าหากผู้ที่ถือครองกรรมสิทธิ์คอนโดอยู่ แล้วไม่ไปจ่ายภาษี สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ
ไม่ได้จ่ายตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่จ่ายก่อนที่จะได้หนังสือแจ้งเตือน มีการปรับเพิ่ม 10% ของจำนวนที่กรมที่ดินแจ้งไว้
จ่ายหลังจากมีการส่งหนังสือแจ้งเตือน ในระยะเวลาตามที่หนังสือแจ้งเตือนกำหนด มีการปรับเพิ่ม 20% ของจำนวนที่กรมที่ดินแจ้งไว้
จ่ายหลังจากระยะเวลาที่หนังสือแจ้งเตือนกำหนด มีการปรับเพิ่ม 40% ของจำนวนที่กรมที่ดินแจ้งไว้
เสียภาษีเพิ่ม 1% ต่อเดือนจากภาษีที่ค้างชำระ
และถ้ายังค้างชำระอยู่ มีสิทธ์ที่จะถูกระงับในการจดทะเบียน, โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน รวมถึงอาจถูกระงับสิทธิครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ ด้วย
สนใจรับโปรโมชั่นพิเศษ กับ กอไก่ไอเดีย คลิ๊ก